วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

การบ้าน : องค์ประกอบของระบบสารสนเทศและความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
     บุคลากร เป็น ส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมาก เพราะบุคลากรที่มีความรู้ เป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     เครื่องคอมพิวเตอร์(ฮาร์ดแวร์) เป็น เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลข้อมูล ทำการคัดเลือก การคำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศที่สำคัญและขาดไม่ได้
     ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็น ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้ เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ
     ซอฟต์แวร์ คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ดังนั้นซอฟต์แวร์จะมีความสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูล
     ข้อมูล เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นที่ทำให้เกิดสารสนเทศได้โดยการผ่านขั้นตอนต่างๆผ่านการ ประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล และขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

          ทุกส่วนในองค์ประกอบนี้มีความสัมพันธ์กันคือ  ถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็จะทำให้ ระบบนั้นก็จะไม่สามารถทำงานได้  หรือว่าถ้าหากระบบนั้นเกิดข้อผิดพลาดก็จะทำงานนั้นล่าช้าออกไปอีก  ดังนั้นระบบจึงมีความสัมพันธ์กันคือ การมีฮาร์ดแวร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มีข้อมูลเพื่อที่จะเข้าไปประมวลผล  โดยบุคลากรนั้นเป็นผู้ปฏิบัติงานและอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติคือ ป้อนข้อมูลให้ทันเวลาโดยใช้ซอฟแวร์ประมวลข้อมูลเพื่อให้ออกมาเป็นสารสนเทศ 

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 5 (23 มกราคม 2555)

ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
             
           สิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้คือ ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประเภทคอมพิวเตอร์
1.แบ่งตามลักษณะของคอมพิวเตอร์
1.1 คอมพิวเตอร์อนาลอก (Analog Computer) = คอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลอย่างต่อเนื่องอยู่ในรูปความถี่แต่ไม่คงที่ เช่น เวลา คลื่นวิทยุ หรือการวัดอุณหภูมิ
1.2 คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) = ประมวลผลแบบไม่ต่อเนื่อง นับได้ทีละ 1 หน่วย เช่น นาฬิกาดิจิตอล สัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอล
1.3 คอมพิวเตอร์ลูกผสม (Hybrid Computer) = ทำงานร่วมกันระหว่างอนาลอกและดิจิตอล เพื่อการใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือตรวจวัดการเต้นของหัวใจ 

2.แบ่งวัตถุประสงค์การใช้งาน 
2.1 คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป (General Purpose Computer) = เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้หลายอย่างภายในเครื่องเดียว เช่น งานกราฟิก งานบัญชี หรืองานเอกสารทั่วไป
2.2 คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special-Purpose Computer) ใช้กับงานด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ATM การกำหนดสัญญาณไฟจราจร หรืองานประกอบเครื่องยนต์ 

3.แบ่งตามขนาดของคอมพิวเตอร์ 
3.1 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) ปับจุบันมีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Notebook Laptop PDA 
3.2 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) มีขนาดใหญ่กว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ใช้งานระบบสารสนเทศในหน่วยงานขนาดเล็กจนถึงหน่วยงานขนาดกลาง สามารถเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ในแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน ประมวลผลแบบกระจายออกไป แทนที่จะประมวลผลแบบศูนย์รวบรวม
3.3 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หน่วยความจุของเทเลไบต์ ต่างกันที่จำนวนเทอร์มินัลสามารถต่อเข้ากับเมนเฟรมมากกว่า 100 เทอร์มินัลขึ้นไป
3.4 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing) หรือ ประมวลผลพร้อมกันทีละหลายๆการประมวลผล (Multi Processing) มีไมโครโปรเซสเซอร์มากกว่า 1000 ตัว มีหน่วยความจำเป็นหนึ่งเทเลไบต์ขึ้นไป ใช้ในการที่ถูกต้องและแม่นยำ เช่น การพยากรณ์อากาศ 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of an Information System) 
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit: IU)
- หน่วยประมวลข้อมูล (Central Processing Unit: CPU)
- หน่วยแสดงผล(Output Processing)
- หน่วยความจำสำรองหรือบันทึกข้อมูล (Secondary : Memory/ Storage Media) 

2. ซอฟต์แวร์ (Software) = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้หน่วยย่อยๆ ในฮาร์ดแวร์
- Software System ควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ หรือปฏิบัติการสั่งงาน
- Package Software เป็นซอฟต์แวร์ที่มีคนพัฒนาไว้เต็มรูปแบบแล้ว 

3. บุคลากร (People) 
- ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ
- ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม
- ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ 

4. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ (Information) 

5. ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure) 
- ขั้นตอนการลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต
- ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินการเรียนการสอน
- ขั้นตอนการใช้บริการของการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

6. การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย (Data Communication and Network System)
- เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสาร ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันผ่านช่องทางทางการสื่อสารอาจเป็นแบบไร้สาย (Wire) หรือไร้สาย (Wireless) 

เครือข่าย (Network)
- ระยะใกล้ (LAN)
- ระยะระหว่างเมือง (MAN)
- ระยะไกล (WAN) 

ความคิดเห็นอื่นๆ 
          เนื้อหาในการเรียนครั้งมีความเข้าใจได้ดีมากค่ะ  สนุกสนานเพราะอาจารย์ได้ให้นิสิตร่วมกับตอบคำถามเพื่อแลกกับดาวเพื่อเป็นส่วนช่วยของคะแนน เรียกว่าเป็นแรงจูงใจที่ทำให้นิสิตตั้งใจเรียนได้ดีค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทิน ครั้งที่ 4 Knowledge Management (KM)

อนุทิน ครั้งที่ 4  Knowledge Management (KM)

เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้เกี่ยวกับ  ระบบสารสนเทศซึ่งหมายถึง  การทำงานพร้อมกันอย่างที่สัมพันธ์กันของแต่ละองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์  เข้ามาช่วยในการนำข้อมูลเข้าจัดเก็บ  รวบรวม  และประมวลผลข้อมูล  จนกลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ  หรือใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นระดับบุคคลหรือองค์กร                 
                                                                 
 KM (Knowledge Management) หมายถึงความหมายที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้  เป็นความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมหรือการปฏิบัติ โดยทุกคนมีความรู้เป็นของตนเอง  ความรู้นั้นมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตีความ  และการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ส่วนการจัดการกับความรู้โดยเรียงลำดับจาก  ข้อมูล (Data) -- สารสนเทศ (Information) -- ความรู้ (Knowledge) -- ปัญญา (Wisdom)     การรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นความเข้าใจถึงความสัมพันธ์  และจากสารสนเทศไปถึงความรู้นั้นเป็นความเข้าใจรูปของความสัมพันธ์  และจากความรู้ไปสู่ปัญญานั้นเป็นความเข้าใจของหลักการ

ประเภทของความรู้จะมีแบบ Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่มองเห็นโดยนัยมองเห็นไม่ชัดเจน ความรู้ที่ไม่เป็นทางการ เป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัว ส่วนExplicit Knowledge เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งเป็นทางการ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นหนังสือพิมพ์ หรือวารสาร หรือเป็นการแสดงออกมาเป็นสัญลักษณ์

  กระบวนการจัดการความรู้
1. การกำหนดเป้าหมายความรู้ (Knowledge Desired)
2. หารสร้างหรือจัดหาความรู้ (Knowledge Creation หรือ Knowledge Acquisition)
3. การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้ (Knowledge Classified)
4. การเก็บความรู้ให้ระบบ (Knowledge Saving System)
5. การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7. การประยุกต์ความรู้ (Knowledge Applied)
8. การประมวลผลและวัดความรู้ (Knowledge Codification & Knowledge Measured)
9. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (To praise & Take a gift)
10. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)

รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนการเรียนรู้
1.เพื่อการรวบรวมและการจัดการเรียนรู้ที่ปรากฏ
2.ใช้ในการสร้างความรู้
3.เพื่อการเข้าถึงความรู้ที่ปรากฏ
4.เพื่อการประยุกต์ใช้ความรู้
5.เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้โดยนัย
 
          ความสำคัญของการจัดการความรู้
1. เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการจ้างงานในระยะ ยาว
2. ประชาชนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้นและเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
 
      ประโยชน์ของการจัดการความรู้
1. ป้องกันการสูญหายของความรู้
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
3. ความสามารถในการปรับตัว และมีความยืดหยุ่น
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. องค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์
7. สร้างความพึงพอใจและเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้
8. เพิ่มความสามารถการแข่งขันโดยผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน
ความแตกต่างระหว่าง Intranet กับ Internet คือ Intranet ใช้กระจายความรู้ที่ใช้เฉพาะองค์กร ส่วน Internet ใช้เพื่อการกระจายความรู้โดยรอบ

ความคิดเห็นอื่นๆ
            อาจารย์สอนเร็วค่ะ  ในเนื้อหาบางส่วนนั้นจึงตามไม่ค่อยทัน  แต่อาจารย์สอนสนุกมากเพราะอาจารย์โทนเสียงที่แตกต่างกันทำให้มีความตื่นเต้นและน่าติดตามฟังไม่น่าเบื่อ  และอาจารย์มีการสอนที่เชื่อมโยงเนื้อหาระหว่างเรื่องภายนอกและในเนื้อหาได้ดีทีเดียวทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนสนุกมากๆค่ะ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) ที่ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษามีทั้งหมด 16 ข้อ 

1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

แหล่งที่มา :  http://ltt.edu.ku.ac.th/LTT4/22Ebook/MIS_pdf/B2.pdf

ซึ่งนำมาจัดกระบวนการ input process output ได้ดังนี้  
Input
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
Process
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
Output
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา